อย่าใส่ไข่ทุกใบไว้ในตะกร้าเดียว
การกระจายความเสี่ยงพอร์ตชีวิต
ในที่นี้หมายถึง
อย่าทุ่มเทกับ
รายได้ช่องทางเดียว
การลงทุนอย่างเดียว
เพราะมันคือความเสี่ยง!!!
ความสุขบางอย่างได้มาอย่างเรียบง่าย เช่น
การอยู่กับครอบครัว คนที่เรารักและรักเรา การอ่านหนังสือเล่มโปรด การดูหนัง ฟังเพลงที่ชอบ
ทำชีวิตให้สมดุลทางความรู้สึก ความมั่นคงทางจิตใจกันนะคะ คุณอาจมี
กองหน้า - รายได้จากน้ำพักน้ำแรง ใช้แรงทำงาน
กองกลาง - ผลตอบแทนจากการลงทุน ใช้เงินต่อยอดเงิน
แต่…อย่าลืม!!!
🔹กองหลัง🔹 ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันทรัพย์สิน โดยจัดสรรเงินก้อนเล็กๆ ที่จะสร้างหลักประกัน คุ้มครองความสามารถในการสร้างรายได้ ในวันที่หลายอย่างอาจไม่เป็นอย่างที่คิด อีกทั้งเพื่อปกป้องเป้าหมาย ความฝันอันยิ่งใหญ่ ความสบายใจให้กับคุณ
ที่สำคัญ…เราเชื่อว่าคุณคงไม่อยากทิ้งภาระก้อนใหญ่ให้กับครอบครัวที่คุณรักอย่างแน่นอน
อ่านต่อ
5 เทคนิคจัดการเงิน เพื่อเตรียมแผนเกษียณสุข
🔹ตัดบัญชีเพื่อ ออม/ลงทุน แบบอัตโนมัติ DCA
เพื่อสร้างนิสัย “ออม ก่อน ใช้”
🔹ใช้ตัวช่วยแบบกำหนดเวลา การันตีผลตอบแทน
ประกันชีวิต แบบสะสมทรัพย์ แบบบำนาญ
🔹ใช้ตัวช่วยแบบยืดหยุ่น กำหนดเป้าหมายและเวลาได้เอง มีโอกาสรับผลตอบแทนสูง
ประกันชีวิตควบการลงทุน Unit Linked
🔹ลงทุนเพื่อการเกษียณ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพPVD ,กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพRMF
🔹อุดรูรั่วความเสี่ยงจากรายจ่ายก้อนใหญ่
ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย ประกันชีวิต ประกันทรัพย์สิน
ที่สำคัญ
ต้องเข้าใจว่าแผนเกษียณเป็นแผนระยะยาว
ต้องไม่ใจร้อน มีวินัย อดทนและรอคอยเป็น
อ่านต่อ
เพราะจากผลสำรวจ คนไทยมีความรู้
เรื่องการเงินต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของคนทั้งโลก
นักวิจัยจากธนาคารโลก และมหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน ทำวิจัยระดับความรู้ทางการเงินของประชากรโลก ด้วยแบบสอบถามที่คลอบคลุมคำถาม
🔹การกระจายความเสี่ยง
🔹เงินเฟ้อ
🔹การคำนวณดอกเบี้ย และ
🔹ดอกเบี้ยทบต้น
ผลสำรวจ 5 ประเทศที่มีความรู้ทางการเงิน
สูงที่สุด คือ นอร์เวย์(71%) เดนมาร์ค(71%) สวีเดน(71%) อิสราเอล(68%) และแคนาดา(68%)
Top5 โซนเอเซีย ได้แก่ สิงคโปร์(59%) ฮ่องกง(43%) ญี่ปุ่น(43%) ไต้หวัน(37%)
และ มาเลเซีย(36%)
ส่วน
🇹🇭ประเทศไทย คะแนนเฉลี่ย 27% ซึ่ง
น้อยกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 33%
จากการขาดความรู้ทางการเงิน ทำให้คนไทยต้องเจอปัญหามากมายตามมา ทั้ง
🔹ปัญหาหนี้สิน
🔹ปัญหาการออมและการลงทุนที่น้อยเกินไป
🔹ปัญหาการไม่มีแผนจัดการความเสี่ยง
ส่งผลถึง
🔹ปัญหาความไม่พร้อมในชีวิตหลังเกษียณ
อาชีพ🔹ที่ปรึกษาการเงิน🔹
จะเป็นการเปิดโอกาสให้เราทุกท่าน ได้เรียนรู้ความรู้ทางการเงินที่ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อมีทักษะในการวางแผนบริหารเงิน บริหารความเสี่ยงในชีวิต ให้มีความมั่นคงและมั่งคั่งได้
🤩ปัญหาดังกล่าวจะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป
อ่านต่อ
เหตุผลมากมายที่เก็บเงินไม่ได้
🔹วัยเยาว์
ฉันยังเด็กเกินไปที่จะคิด ชีวิตฉันเพิ่งเริ่มต้น
วันหนึ่งเมื่อฉันโตขึ้น ฉันจะเก็บ
🔹วัยรุ่น
ฉันยังเรียนหนังสืออยู่ พ่อแม่ให้เงินฉันพอใช้
ในแต่ละวันเท่านั้น ฉันยังเก็บเงินไม่ได้หรอก
ถ้าหาเงินได้เอง ฉันจะเก็บ
🔹วัย 20
ฉันเพิ่งเรียนจบ ยังไม่พร้อมผูกมัดเรื่องนี้
ยังมีเวลาเหลืออีกมากที่จะคิด
🔹วัย 30
ฉันเพิ่งมีครอบครัว และต้องรับผิดชอบหลายอย่าง ทั้งค่าเทอมลูก ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ทุกวันนี้ชักหน้าไม่ถึงหลัง ถ้าหาเงินได้มากกว่านี้ และเด็กๆโตแล้ว ฉันจะเก็บ
🔹วัย 40
ค่าใช้จ่ายสูงจริงๆ เป็นเวลาที่ยากจะเก็บเงิน
เมื่อลูกเรียนจบ การเงินคล่องตัวขึ้น ฉันจะเก็บเงิน
🔹วัย 50
ตอนนี้ลูกๆโตเป็นผู้ใหญ่ และกำลังจะแต่งงาน
ฉันต้องเตรียมเงินให้พวกเค้าเพื่อจะได้เริ่มต้นชีวิตที่ดี มันติดขัดไปหมด ถ้าโชคดีเมื่อไร
ฉันคงจะเก็บเงินได้
🔹วัย 60
ฉันพยายามจ่ายเงินติดค้างจำนองบ้านที่เหลือ และหนี้สินอื่นๆ ไหนจะลูกหลานเอย ถ้าภาระ
ฉันหมดเมื่อไร ฉันภาวนาว่าฉันจะเก็บเงินได้
🔹วัย 70
ฉันแก่เกินไปที่จะเก็บ เงินบำนาญฉันก็มีไม่มากพอ บิลค่ายาและค่ารักษาพยาบาลระยะยาว ทำให้ฉันกังวล และไม่อยากเป็นภาระลูก
ฉันน่าจะเก็บตอนที่ฉันมี และควรเก็บได้
ฉันไม่สามารถเก็บเงินเดี๋ยวนี้ได้จริงๆ
มันสะท้อนทุกช่วงวัยจริงๆ
เริ่มต้นทันที ดีที่สุด
อ่านต่อ
บางท่านบอกว่า เคยได้ยินแต่ปรับพอร์ตการลงทุน เพิ่งเคยได้ยินคำว่าปรับพอร์ตประกัน
โดยส่วนตัวในครอบครัวจะซื้อกรมธรรม์กันมากกว่า 5 ฉบับต่อคน และทำสรุปข้อมูลกรมธรรม์ครอบครัว แยกเป็นแต่ละคน สรุปว่า
- จ่ายเบี้ยประกันรวมเท่าไร
- มีทุนประกันรวมเท่าไร
สัญญาเพิ่มเติม :
- ค่ารักษาพยาบาลวงเงินเหมาจ่ายรวมเท่าไร
- คุ้มครองโรคร้ายแรงรวมเท่าไร
- คุ้มครองอุบัติเหตุ ชดเชยรายวันรวมเท่าไร
- ส่วนที่เป็นเงินออมครบกำหนดได้รับเงินเท่าไร
- ส่วนของเงินบำนาญตอนอายุ 60 ปีจะได้รับ
ปีละเท่าไร
จึงใช้คำว่า “พอร์ต” เพราะเห็นภาพดี
และเพราะแต่ละช่วงวัย มีความจำเป็น
ในการทำประกันชีวิตที่ต่างกัน และ
สถานการณ์รอบตัวเราที่เปลี่ยนแปลงไป
ซึ่งกรมธรรม์ที่ทำมา 10 ปีก่อนหน้า
อาจไม่เพียงพอ หรือไม่เหมาะสมกับ
สถานการณ์ปัจจุบัน จึงต้องมาปรับพอร์ตกัน
🔹วัยเด็ก วัยเรียนและวัยรุ่น
- แบบสะสมทรัพย์(ออมเพื่อการศึกษา)
- กรมธรรม์อุบัติเหตุส่วนบุคคล
- ประกันสุขภาพคุ้มครองค่าห้องค่ารักษาพยาบาล
🔹วัยทำงาน
- แบบสะสมทรัพย์(เพื่อลดหย่อนภาษี)
ออมเพื่อสะสมไว้ใช้ในอนาคต เช่น
ซื้อทรัพย์สิน ท่องเที่ยว)
- แบบตลอดชีพ(คุ้มครองเพื่อเป็นมรดก)
- แบบ Unit Linked(เพื่อคุ้มครองชีวิตและ
ลงทุน และวางแผนคุ้มครองสุขภาพระยะยาว)
- แบบบำนาญ(เพื่อลดหย่อนภาษี และ
เก็บเงินไว้ใช้ยามเกษียณ)
- สัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพ
คุ้มครองโรคร้ายแรง และอุบัติเหตุส่วนบุคคล
🔹วันเกษียณ
- แบบสะสมทรัพย์ระยะสั้น
(เพื่อสร้าง passive income)
- แบบบำนาญ(ชำระเบี้ยครั้งเดียว)
- สัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพ
คุ้มครองโรคร้ายแรง และอุบัติเหตุส่วนบุคคล
ไม่มีใครวางแผนที่จะล้มเหลว แต่ชีวิตที่ล้มเหลวเพราะขาดการวางแผน
อ่านต่อ
เราสามารถตามล่าหาเงินเกษียณ
ได้จากค่าใช้จ่ายเล็กๆน้อยๆประจำสัปดาห์
🔹บุหรี่
วันละ 1 ซอง สัปดาห์ละ 490 บาท
(ลงทุนที่อัตราผลตอบแทน8%)
10 ปี จะมีมูลค่า 383,409 บาท
20 ปี “ 1,211,161 บาท
30 ปี “ 2,998,214 บาท
🔹หวย
งวดละ 1,000 สัปดาห์ละ 500 บาท
(ลงทุนที่อัตราผลตอบแทน8%)
10 ปี จะมีมูลค่า 391,234 บาท
20 ปี “ 1,235,878 บาท
30 ปี “ 3,059,402 บาท
🔹กาแฟ
วันละ 1 แก้ว สัปดาห์ละ 700 บาท
(ลงทุนที่อัตราผลตอบแทน8%)
10 ปี จะมีมูลค่า 547,727 บาท
20 ปี “ 1,730,229 บาท
30 ปี “ 4,283,163 บาท
🔹สังสรรค์
สัปดาห์ละ 1 ครั้ง สัปดาห์ละ 1,000 บาท
(ลงทุนที่อัตราผลตอบแทน8%)
10 ปี จะมีมูลค่า 782,468 บาท
20 ปี “ 2,471,756 บาท
30 ปี “ 6,118,804 บาท
🔹ช้อปปิ้ง
สัปดาห์ละ 1 ครั้ง สัปดาห์ละ 2,000 บาท
(ลงทุนที่อัตราผลตอบแทน8%)
10 ปี จะมีมูลค่า 1,564,935 บาท
20 ปี “ 4,943,512 บาท
30 ปี “ 12,237,608 บาท
ไม่น่าเชื่อ แต่ตัวเลขทำให้ต้องเชื่อ
มาเปลี่ยนค่าใช้จ่ายเล็กๆน้อยๆในชีวิตประจำสัปดาห์ให้เป็นเงินเกษียณกันค่าทุกคน
อ่านต่อ
อิสรภาพทางการเงินที่แท้จริง
ไม่ใช่…การมีเงิน
แต่คือ
“การมีความสามารถในการสร้างเงิน” ต่างหาก
Cr. Stephen Covey
(ผู้เขียน The 7 Habits of Highly Effective People)
ความสามารถในการสร้างเงิน
อย่าลืม 4 เรื่องสำคัญ เพื่อมี
อิสรภาพทางการเงินในอนาคตที่แท้จริง
🔹สร้างความมั่งคั่ง(แผนการใช้จ่าย เงิน4ช่อง/แผนจัดการภาษี)
ด้วยการวางแผนเพิ่มรายได้ และปรับลดค่าใช้จ่าย เป็นการบริหารเพื่อให้มีเงินออมเหลือเก็บ
🔹ปกป้องความมั่งคั่ง(แผนจัดการความเสี่ยง)
โดยการทำประกัน ไม่ว่าจะเป็น ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ โรคร้ายแรง หรือประกันทรัพย์สิน เพื่อป้องกันความเสี่ยง อุดรูรั่วความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้กระทบเป้าหมายสำคัญในชีวิต
🔹เพิ่มพูนความมั่งคั่ง(แผนการลงทุน/แผนการเกษียณ)
ด้วยการลงทุน เพื่อเพิ่มผลตอบแทน “วางเงินต่างที่ มูลค่าเงินต่างกัน” วางเงินได้ถูกที่ จะทำให้เราถึงเป้าหมายการเงินได้เร็วขึ้น อย่างปลอดภัย
🔹ส่งต่อความมั่งคั่ง(แผนจัดการมรดก)
ผ่านการวางแผนมรดก จะช่วยให้การส่งต่อความมั่งคั่ง เป็นไปอย่างราบรื่น ถูกต้องและถูกคน
อิสรภาพทางการเงินเป็นจริงได้ และไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป
อ่านต่อ
หลายๆครั้งที่มีโอกาสได้ให้คำปรึกษาวางแผนภาษี จะพบว่าลูกค้าส่วนใหญ่จะทำประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันบำนาญ เฉพาะไม่เกินสิทธิ์ลดหย่อน
ซึ่งก็ถูกต้อง
แต่ก็ไม่ผิดกฎของทางการ ถ้าเราจะ
🔹ใช้ประกันชีวิต เป็นเครื่องมือคุ้มครองค่าความสามารถ คุ้มครองรายได้ของครอบครัว
🔹ใช้ประกันบำนาญ เพื่อเป็นเครื่องมือให้บรรลุเป้าหมายเกษียณ แบบการันตีผลตอบแทน
🔹ใช้ประกันสุขภาพเหมาจ่าย แบบดูแลกันยาวๆจนถึงอายุ 99 ปี ซึ่งเบี้ยจะเกินสิทธิ์ลดหย่อนแน่นอน หรือ
🔹ใช้ประกันชีวิตควบการลงทุน ซึ่งค่าใช้จ่ายที่นำมาหักลดหย่อนภาษีได้จะไม่คงที่ในแต่ละปี แต่เป็นแบบที่มีความยืดหยุ่นในการวางแผนการเงิน วางแผนชีวิตสูง และมีโอกาสมั่งคั่งในระยะยาว
ลูกค้าหลายท่านอาจมองว่าเกินสิทธิ์ ไม่ได้ประโยชน์ทางภาษี และอาจมีแนวทางของตัวเอง
แต่ที่ปรึกษาการเงินอย่างเรา แอบรู้สึกเสียดายโอกาสที่จะวางแผนเกษียณแบบเกษม ด้วยเครื่องมือทางการเงินวิถีเราจัง
อ่านต่อ
จริงค่ะ ถ้าคนๆนั้นมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่อยากจะโผล่ขึ้นพ้นน้ำ เข้าใจความรู้สึกของคนกำลังจะจมน้ำนะคะ เพราะแอดมินเองก็เคยอยู่ในสภาวะนั้น
การมีหนี้ ไม่ใช่เรื่องน่าอาย ไม่ใช่เรื่องเลวร้าย
ถ้าเราเข้าใจคำว่า
”หนี้ดี” คือ หนี้ที่ก่อให้เกิดรายได้หรือสร้างสินทรัพย์ในอนาคต ส่วน
”หนี้เลว” คือ หนี้ที่เกิดจากการใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคเกินตัว ใช้บัตรเครดิตจนเป็นหนี้สินล้นพ้นตัว ซึ่งอันนี้สามารถปรับลดลงได้
ด้วยวิธีการ”สะกดรอยตามเงิน”
จดบันทึก รายรับ รายจ่าย ทรัพย์สิน หนี้สินที่มีออกมาทั้งหมด แล้วค่อยๆอุดรูรั่วโดยลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น ปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ โดยเฉพาะหนี้ที่ดอกเบี้ยแพง เช่น บัตรเครดิต หรือขอปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้บ้านทุกๆ 3 ปี เป็นต้น
ส่วนของการเก็บออมเงิน/ลงทุน
ที่แอดมินทำแล้วได้ผล
🔹ฝากเงินแบบปลอดภาษี24เดือนกับธนาคาร
🔹ให้บริษัทที่ทำงานหักสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแบบเต็มสิทธิ์
🔹บริหารภาษีด้วยกองทุนรวมลดหย่อนภาษีSSF RMFเต็มสิทธิ์ โดยหักบัญชีแบบDCA
🔹บริหารภาษีด้วยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันบำนาญ เต็มสิทธิ์
แต่ต้องบอกก่อนว่า กว่าจะบริหารภาษีได้เต็มสิทธิ์ ก็ค่อยๆเริ่มทีละเล็กละน้อย พร้อมกับจัดการหนี้ไปด้วย ตัวแอดมินเองฝากเงินแบบปลอดภาษีก็ฝากไม่สำเร็จ มีอันต้องปิดบัญชีก่อนหลายต่อหลายครั้ง แต่ไม่ละความพยายาม จนตอนนี้สามารถมีเงินเก็บได้เกินจากที่ตั้งใจไว้ จึงขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่กำลังต่อสู้กับใจตัวเอง
ไม่มีอะไรเป็นไปไม่ได้ ถ้าใจเราอยากเป็น
อ่านต่อ