ทำไมต้องวางแผนปรับพอร์ตประกันชีวิต?

ทำไมต้องวางแผนปรับพอร์ตประกันชีวิต?

บางท่านบอกว่า เคยได้ยินแต่ปรับพอร์ตการลงทุน เพิ่งเคยได้ยินคำว่าปรับพอร์ตประกัน

โดยส่วนตัวในครอบครัวจะซื้อกรมธรรม์กันมากกว่า 5 ฉบับต่อคน และทำสรุปข้อมูลกรมธรรม์ครอบครัว แยกเป็นแต่ละคน สรุปว่า 
- จ่ายเบี้ยประกันรวมเท่าไร
- มีทุนประกันรวมเท่าไร
สัญญาเพิ่มเติม : 
- ค่ารักษาพยาบาลวงเงินเหมาจ่ายรวมเท่าไร 
- คุ้มครองโรคร้ายแรงรวมเท่าไร
- คุ้มครองอุบัติเหตุ ชดเชยรายวันรวมเท่าไร
- ส่วนที่เป็นเงินออมครบกำหนดได้รับเงินเท่าไร
- ส่วนของเงินบำนาญตอนอายุ 60 ปีจะได้รับ
ปีละเท่าไร
จึงใช้คำว่า “พอร์ต” เพราะเห็นภาพดี

และเพราะแต่ละช่วงวัย มีความจำเป็น
ในการทำประกันชีวิตที่ต่างกัน และ
สถานการณ์รอบตัวเราที่เปลี่ยนแปลงไป
ซึ่งกรมธรรม์ที่ทำมา 10 ปีก่อนหน้า 
อาจไม่เพียงพอ หรือไม่เหมาะสมกับ
สถานการณ์ปัจจุบัน จึงต้องมาปรับพอร์ตกัน

🔹วัยเด็ก วัยเรียนและวัยรุ่น
- แบบสะสมทรัพย์(ออมเพื่อการศึกษา)
- กรมธรรม์อุบัติเหตุส่วนบุคคล
- ประกันสุขภาพคุ้มครองค่าห้องค่ารักษาพยาบาล
🔹วัยทำงาน
- แบบสะสมทรัพย์(เพื่อลดหย่อนภาษี) 
ออมเพื่อสะสมไว้ใช้ในอนาคต เช่น 
ซื้อทรัพย์สิน ท่องเที่ยว)
- แบบตลอดชีพ(คุ้มครองเพื่อเป็นมรดก)
- แบบ Unit Linked(เพื่อคุ้มครองชีวิตและ
ลงทุน และวางแผนคุ้มครองสุขภาพระยะยาว)
- แบบบำนาญ(เพื่อลดหย่อนภาษี และ
เก็บเงินไว้ใช้ยามเกษียณ)
- สัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพ 
คุ้มครองโรคร้ายแรง และอุบัติเหตุส่วนบุคคล
🔹วันเกษียณ
- แบบสะสมทรัพย์ระยะสั้น
(เพื่อสร้าง passive income)
- แบบบำนาญ(ชำระเบี้ยครั้งเดียว)
- สัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพ 
คุ้มครองโรคร้ายแรง และอุบัติเหตุส่วนบุคคล

ไม่มีใครวางแผนที่จะล้มเหลว แต่ชีวิตที่ล้มเหลวเพราะขาดการวางแผน